วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

การสร้างพื้นหลังและนำเสนอเสียงขั้นการนำเสนอเสียงเพลงประกอบ

1.ไปคลิกที่ Stage จากนั้นเลือกคลิกแทบ Background และคลิกปุ่ม Import เพื่อนำภาพมาเป็นภาพ Background ตามลำดับ



2. แล้วเลือกภาพ Background ที่ต้องการ ตามภาพข้างล่าง



ขั้นการนำเสนอเสียงเพลงประกอบ

1. กลับไปคลิก scripts แล้วเลือกคลิกที่ปุ่ม Control จากนั้นคลิกแล้วลาก Icon when clicked และ forever มาจัดวางจากบนลงล่างตามลำดับ




2. เลือกเพลงโดยคลิกที่แทบ Sound แล้วกดปุ่ม Import ตามลำดับ ตามภาพข้างล่าง


3. เลือกเพลงที่ต้องการ


4. ต่อไปให้คลิกที่แทบ Sound จากนั้นคลิกลาก Icon play sound until ไปปล่อยวางภายใน Icon forever

การเตรียมข้อมูลไฟล์และขั้นตอนการสร้างตัวละคร



1.คลิกที่แทบ Costumes และคลิกที่ปุ่ม Import



2.จากนั้นเลือกภาพที่ต้องการนำมาสร้างงาน ดังภาพข้างล่าง




3.จะได้ภาพที่ต้องการจนครบดังภาพข้างล่าง ในขั้นตอนนี้อาจสร้างการ์ตูนเองก็ได้จากโปรแกรมช่วยสร้างงานกราฟิกอื่นๆ



ขั้นตอนสร้าง Animation
   1. เมื่อได้ภาพจนครบแล้ว ให้คลิกที่แทบ Scripts และคลิกที่ปุ่ม Control จากนั้นเลือกคลิก Icon When Click แล้วลากมาปล่อยไว้ในพื้นที่ Script เพื่อต้องการนำเสนองานโดยการคลิก


2. เลือกคลิก Icon forever แล้วลากมาปล่อยไว้ในพื้นที่ Script เพื่อต้องการนำเสนองานซ้ำๆ กันตลอดเวลา ดังภาพข้างล่าง


3. คลิกที่ปุ่ม Look จากนั้นเลือกคลิก Icon next costume แล้วลากมาปล่อยไว้ในพื้นที่ Script ภายใน Icon forever เพื่อต้องการนำเสนอภาพภายใน Costume ตามลำดับจนครบ ดังภาพข้างล่างนี้


4. คลิกที่ปุ่ม Control จากนั้นเลือกคลิก Icon wait แล้วลากมาปล่อยไว้ในพื้นที่ Script ภายใน Icon forever ภายใต้ Icon next costume แล้วกำหนดเวลาหยุดเป็น 0.2 วินาที เพื่อหยุดการนำเสนอชั่วขณะของแต่ละภาพภายใน Costume ตามลำดับจนครบ ที่ต้องหยุดชั่วขณะเพื่อให้ภาพต่อเนื่องโดยการชลอการนำเสนอ (จากนั้นจะนำเสนอซ้ำๆ ตามคำสั่งของ Icon forever) ดังภาพข้างล่างนี้



สคริปต์

สคริปต์
   สคริปต์คือชุดคำสั่งสำหรับตัวละครหรือเวที เพื่อสั่งให้ตัวละครหรือเวทีทำงานตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยการเลือกสคริปต์จากกลุ่มบล็อก ซึ่งแบ่งเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้
Picture
เมื่อคลิกที่กลุ่มบล็อกใด จะปรากฏบล็อกในกลุ่มนั้น บล็อกสำหรับตัวละครและเวทีอาจมีความแตกต่างกันบ้าง เช่น กลุ่มบล็อก Motion ของตัวละครจะมีบล็อกดังรูปด้านซ้าย ส่วนรูป ด้านขวาเป็นของเวทีซึ่งไม่มีบล็อก Motion เนื่องจากเวทีเคลื่อนที่ไม่ได้

Picture






Picture



สคริปต์หนึ่งๆ ประกอบไปด้วยบล็อกมาเรียงต่อกันเป็นกลุ่ม บางบล็อกสามารถอยู่ข้างในหรือซ้อนอยู่บนบล็อกอื่นได้
       ตัวอย่างการเขียนสคริปต์สั่งให้แมงกะพรุนเคลื่อนที่ ก่อนเขียนสคริปต์ต้องเลือกตัวละครก่อน แล้วนาบล็อกที่ต้องการมาเรียงต่อกันในพื้นที่สาหรับเขียนสคริปต์





















ตัวละคร


  ตัวละครแต่ละตัวจะมีข้อมูลแตกต่างกัน โดยสามารถคลิกที่ภาพตัวละครในพื้นที่แสดงรายการตัวละคร เพื่อดูข้อมูลของตัวละครนั้น เช่น ตัวละครปลาทองในโปรเจกต์ Aquarium มีข้อมูลดังตาราง
Picture

1. ชื่อตัวละคร Creature 6
2. ตำแหน่งบนเวที x: -166 y: 125
3 ทิศทางการเคลื่อนที่ (direction) 104 องศา
4. รูปแบบการหมุน มี 3 ลักษณะ
    - หมุนได้รอบทิศทาง
    - หันได้เฉพาะซ้ายหรือขวา
    - ห้ามหมุน
5. การลากตัวละครในโหมดนำเสนอหรือบนเว็บไซต์
    - แม่กุญแจปิด ลากตัวละครไม่ได้
    - แม่กุญแจเปิด



ชื่อตัวละคร 

       
   โปรแกรมจะตั้งให้เป็น Sprite 1, 2, 3… ตามลาดับที่สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ ถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อตัวละครให้พิมพ์ชื่อใหม่บนแถบชื่อหมายเลข 1.


ชุดตัวละคร

      
    ชุดตัวละคร (Costumes) เป็นลักษณะของตัวละคร ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงภาพเดิม หรือเพิ่ม หรือเพิ่มภาพใหม่ และอาจเขียนสคริปต์ให้กับตัวละครเปลี่ยนแปลง หรือเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ

Picture


รายละเอียดชุดตัวละคร
1. แท็บ Costumes
2. สร้างชุดตัวละครใหม่
3. ชุดตัวละคร ในตัวอย่างเป็น
    ชุดของตัวละครชื่อ Creature 1
    ชื่อชุด Jellyfish1 มีลักษณะสีขาว
    และ Jellyfish2 มีลักษณะโปร่งใส


วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบหลักของโปรแกรม







1. แถบเมนู 
2. ข้อมูลของเวที หรือตัวละครที่ถูกเลือก
3. กลุ่มบล็อก 
4. บล็อกในกลุ่มที่เลือก
5. พื้นที่ทางาน
6. รายการตัวละคร และเวทีที่ใช้ในโปรเจกต์ปัจจุบัน
7. เวที

รายละเอียดของเวที

1. แท็บ Scripts

2. แท็บ Backgrounds

3. แท็บ Sounds

4. สร้างพื้นหลังใหม่ (New Background)

5. พื้นหลังลาดับที่ 1 และ 2

Picture










การบอกตาแหน่งใดๆ บนเวทีจะบอกโดยใช้ค่า (x, y) โดยค่า x และ y ที่ตาแหน่ง (0, 0) จะอยู่ตรงกลางเวที

Scratch คืออะไร

   โปรแกรม Scratch  เป็นโปรแกรมภาษา ที่ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานได้อย่างง่าย
เช่น นิทานที่สามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ ภาพเคลื่อนไหว เกม ดนตรี และศิลปะ และเมื่อสร้างเป็นชิ้นงานเสร็จแล้ว สามารถนาชิ้นงานที่สร้างสรรค์นี้ แสดง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นบนเว็บไซต์ได้ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการทางคณิตศาสตร์ และแนวคิดการโปรแกรมไปพร้อมๆ กับการคิดอย่างสร้างสรรค์ มี เหตุผล เป็นระบบ และเกิดการทางานร่วมกัน